วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ขับรถชนคนตาย บาดเจ็บ ควรทำอย่างไร?

06:39




ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 " ผู้ใดกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท "

จากบทกำหนดโทษตามมาตรานี้ ที่ ทำให้คนขับรถที่ชนคนมักหลบหนีเนื่องจากเกรงว่าจะถูกลงโทษตามที่กำหนด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องด้วยการกระทำโดยประมาท คือการกระทำที่ขาดความระมัดระวัง หรือ ระวังแล้ว แต่ไม่เพียงพอตามวิญญูชนพึงถือปฏิบัติซึ่งไม่ใช่เจตนา ซึ่งหมายถึงการกระทำที่ผู้กระทำได้เล็งเห็นผลที่ชัดเจนอยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อเป็นเรื่องการประมาท ศาลมักจะให้โอกาสกับผู้กระทำการโดยประมาทได้มีการปรับปรุงตน ซึ่งทั่วไปแล้ว โทษจำคุกมักจะรอลงอาญา เว้นแต่บุคคลนั้นเคยกระทำความผิดเช่นว่านั้น หรือเคยรอลงอาญามาก่อนแล้วยังมากระทำความผิดซ้ำอีก เช่นนี้ศาลจะพิจารณาลงโทษเลยและไม่เพียงแต่ลงโทษในคดีความใหม่เท่านั้นแต่จะรวมเอาโทษที่รอลงอาญาอยู่ก่อนนั้นมาลงโทษด้วยทันที การที่ศาลจะรอลงอาญากับผู้กระทำผิดหรือกระทำการโดยประมาทนั้นจะต้องมีพฤติกรรมที่แสดงถึงความรับผิดชอบและรู้สำนึกเป็นเบื้องต้นก่อน

ดังนั้นในกรณีที่ขับรถเกิดอุบัติเหตุหรือชนคนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจึงแนะนำว่า

1.ผู้ขับขี่ต้องอย่าหลบหนี เพราะการหลบหนีนั้นเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการขาดความรับผิดชอบ และ ขาดไร้ซึ่งคุณธรรม
ถ้าผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กฎหมายให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำผิด และตำรวจมีอำนาจยึดรถที่ขับไว้จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับขี่หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

2.ต้องแสดงความรับผิดชอบ การมีน้ำใจเช่นการให้ความช่วยเหลือ การบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้น
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ คนขับรถ มักไม่ค่อยเห็นประโยชน์ ของการช่วยเหลือเหล่านี้ ความจริงเมื่อเราขับรถชน คนตาย บาดเจ็บ หรือการขับรถโดยประมาทนั้น เรามีความผิดทั้งทางกฎหมายแพ่ง และอาญา

ทางอาญา เราอาจจะต้องรับโทษติดคุกติดตะราง

ทางแพ่ง เราจะต้องชดใช้ค่าเสียหาย ค่าบาดเจ็บ ค่าทำศพให้กับเขาอีก คือติดคุกแล้วยังจะต้องเสียเงินให้กับ ฝ่ายคนเจ็บ คนตายเขาอีก ทีนี้ถ้าหากเราช่วยเหลือคนเจ็บ หรือใช้ค่าทำศพคนตายแล้ว มีผลดียังไง ตอบได้ว่า มีผลดีมาก ยกตัวอย่าง เช่น
- เราขับรถชนคนบาดเจ็บไปโรงพยาบาล ต่อมาอัยการฟ้องเราต่อศาล เราก็แถลงต่อศาลว่าเราช่วยเหลือคนเจ็บ ส่งโรงพยาบาล ส่วนมาก ศาลจะเห็นว่า เราเป็นคนดีมีน้ำใจ ศาลก็อาจจะรออาญาให้เราโดยไม่จำคุกเรา แต่ถ้าเราชนแล้วหนี ส่วนมาก ศาลมักจะจำคุกเราเลย เพราะเห็นว่าเราเป็นคนแล้งน้ำใจ
- การตกลงใช้ค่าเสียหายให้คนเจ็บก็มีประโยชน์มากยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่พยายามตกลงใช้ค่าเสียหายให้กับคนเจ็บ ตำรวจเขาจะมีระเบียบไว้ว่า ไม่ให้คืนรถของกลางให้แก่ผู้ต้องหา จนกว่า ผู้ต้องหา จะพยายาม ตกลงกับฝ่ายผู้เสียหาย และถ้าหาก เราชดใช้ค่าเสียหาย จ่ายค่าทำศพให้เขา คดีแพ่งก็ระงับ เพราะถือว่า ยอมความคดีแพ่งกันแล้ว จะฟ้องเรียกค่าเสียหายเราในทางแพ่งไม่ได้อีกแล้ว และถ้าเราถูกฟ้อง คดีอาญาต่อศาล ผู้เสียหาย จะมาแถลงต่อศาลว่า เราได้ชดใช้ค่าเสียหายให้เขาแล้ว ส่วนมากแล้ว ศาลจะปรานีจำเลย โดยตัดสินให้รออาญาแก่จำเลย เห็นหรือยังว่า การช่วยเหลือคนเจ็บ และการมีน้ำใจนั้นดีอย่างไร

3. ยอมรับผิดด้วยรู้สำนึกต่อการกระทำที่เกิดขึ้นและให้ความร่วมมือในการสอบสวนคดีของตำรวจ

4.ผู้ขับขี่ต้องแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นนั้นกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุนั้นและแสดงตนหรือมอบตัวต่อเจ้าพนักงานสอบสวน

5.ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามสมควรแก่กรณีให้กับผู้เสียหาย (ผู้เสียหายในที่นี้อาจจะหมายถึง ภรรยา บุตร หรือ ญาติของผู้เสียชีวิต ) และหากรถยนต์คันที่เกิดเหตุมีประกันภัยเอาไว้ก็ต้องแจ้งเหตุที่เกิดขึ้นนั้นให้บริษัทประกันภัยรับทราบทันที ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก เพราะว่าเมื่อบริษัทประกันภัยได้รับแจ้งเหตุจากคนขับ ทางบริษัทประกันภัยก็จะส่งพนักงานเคลมออกมาให้บริการกับผู้ขับขี่และให้คำแนะนำที่ถูกต้องพร้อมทำแผนที่เกิดเหตุไว้พร้อมมูลเพื่อเอาไว้ต่อสู้คดี (ในการชดใช้ค่าเสียหาย ถ้าหากรถคันที่เกิดเหตุมีประกันภัยเอาไว้ ประกันภัย ไม่ว่าจะเป็น ประเภท 1 2 3 หรือ ประเภท5 ( 2+ ,3+ ) ก็จะมีความคุ้มครองต่อชีวิตบุคคลภายนอกเอาไว้ด้วย ซึ่งความคุ้มครองในส่วนนี้เองที่จะไปชดใช้ค่าเสียหายต่อชีวิต ที่เกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลที่เกินจาก พรบ. ค่าขาดไร้อุปการะ เป็นต้น )

**** อย่าลืม ถ้ามีกล้องถ่ายรูปหรือหากล้องถ่ายรูปใกล้ที่เกิดเหตุได้ต้องรีบถ่ายรูปรถ และที่เกิดเหตุไว้ให้พร้อม
เพื่อจะได้เก็บไว้เป็นหลักฐานการต่อสู้คดีต่อไป และหากมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิปอเต็กตึ้งหรือมูลนิธิร่วมกตัญญูถ่ายภาพศพหรือที่เกิดเหตุไว้ ก็ให้ติดต่อขอภาพที่ถ่ายเก็บไว้ให้ได้ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่รูปคดีในภายหลัง *****

ในชั้นพนักงานสอบสวนก็จะทำการสืบสวน-สอบสวน และแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ขับขี่ที่ประมาท โดยเมือแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว คดีนั้นมีผู้เสียชีวิต พนักงานสอบสวนก็จะทำการควบคุมตัวผู้ต้องหา ตรงนี้แหละครับที่บริษัทประกันภัยจะเข้ามาให้การช่วยเหลือผู้ขับขี่ด้วยการนำหลักทรัพย์มาประกันตัวให้กับผู้ขับขี่ หากกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนั้นมีการซื้อ ประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญาเอาไว้ ( ซึ่งปกติ จะมีอยู่ในกรมธรรมภาคสมัครใจแทบทุกฉบับครับ แต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น โดยปกติ จะอยู่ที่ 200,000 , 300,000 แต่ก็มีบางกรมธรรม์ ที่ประกันตัวผู้ขับขี่ เป็น 100,000 เช่น สินมั่นคง เรทตามไมล์ ครับ ) แต่ถ้ากรมธรรม์ประกันภัยไม่ได้ซื้อความคุ้มครองในส่วนประกันตัวผู้ขับขี่เอาไว้ หรือ ซื้อไว้ แต่ไม่พอ ก็เป็นหน้าที่ของผู้ขับขี่เองที่ต้องหาหลักทรัพย์มาประกันตัวออกไป ตรงนี้เรียกว่า การประกันตัวชั้นพนักงานสอบสวน โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเป็นผู้กำหนดว่า หลักทรัพย์ที่จะต้องนำมาประกันตัวนั้นจะต้องมีมูลค่าเท่าไร ( โดยปกติจะกำหนดอยู่ที่ ถ้าเป็นรถส่วนบุคคล 150,000 บาท รถรับจ้าง 200,000-250,000 บาท ครับ ) จากนั้นเมื่อมีการประกันตัวในชั้นนี้แล้ว ทางพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี จะทำการสรุปสำนวนรายงานการสอบสวนพร้อมพยานหลักฐานต่างๆ ซึ่งจะมีการกำหนดระยะเวลาเอาไว้ประมาณ 90 วัน เมื่อ สืบสวน-สอบสวนเรียบร้อยแล้วก็จะนำเสนอรายงานการสอบสวนส่งให้กับผู้กำกับการเพื่อขอความเห็นชอบเป็นคำสั่งตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ซึ่งจะมีการสรุป ออกเป็น สาม แนวทางคือ 1. งดการสอบสวน 2. สั่งไม่ฟ้อง 3. สั่งฟ้อง จากนั้นก็จะมีการส่งสำนวนการสอบสวนดังกล่าวไปยังอัยการ

สำหรับในชั้นอัยการนั้น เมื่อพนักงานสอบสวนจะมีการส่งไปยังอัยการ ก็จะมีการแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบ ตรงนี้เมื่อผู้ถูกกล่าวหารับทราบถึงการนัดส่งอัยการ ก็ต้องแจ้งให้ทางบริษัทประกันภัยทราบเพื่อให้บริษัทประกันภัยจะได้จัดเตรียมหลักทรัพย์เพื่อการประกันตัวในชั้นอัยการอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอัยการก็จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบสำนวนรายงานการสอบสวนว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่อย่างไร โดยอัยการอาจมีการส่งสำนวนกลับคืนให้ทางตำรวจทำการสืบสวน-สอบสวนเพิ่มเติมได้ หรือเมื่อหากสำนวนรายงานการสอบสวนครบสมบูรณ์แล้ว อัยการก็จะมีความเห็นในสองแนวทางคือ
เห็นควรตามรายงานการสอบสวน หรือ มีความเห็นตรงกันข้ามกับพนักงานสอบสวนก็อาจจะเป็นไปได้ เช่น พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหา แต่อัยการอาจจะมีความเห็นเป็นเด็ดขาดว่า สั่งไม่ฟ้อง ก็สามารถกระทำได้ ซึ่งหากอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง ก็จะมีการส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนสั่งฟ้องไปยังศาลต่อไ

เมือไปถึงชั้นศาล ในชั้นนี้ก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่บริษัทประกันภัยจะต้องมีการเตรียมหลักทรัพย์มาประกันตัวในชั้นศาลให้กับผู้ขับขี่และจะมีการแต่งตั้งทนายความเข้ามาเพื่อดำเนินการตามกระบวนการทางศาล

จะเห็นได้ว่า ระบบประกันภัยจะเข้ามาให้ความคุ้มครองและดูแลให้กับผู้ขับขี่ เพราะฉะนั้นไม่ต้องหลบหนี หากรถคุณมีประกันภัย


ขอบคุณข้อมูลดีๆจากเพจ ปรึกษากฎหมายฟรี
ทนายความ/รับว่าความ/ปรึกษากฎหมายฟรี
ตลอด24ชม.โทร 097-2206939



บทความและภาพ ในบล็อกนี้บางบทบางภาพอาจนำมาจากเว็บไซต์อื่นที่ที่ทางเราคิดว่ามีประโชยน์ต่อผู้อ่าน โดยให้ผู้อ่านเกิดควมบันเทิง และให้ความรู้ หากไฟล์ภาพหรือบทความใด ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ต้องการให้นำมาแสดง โปรดแจ้งมาที่ dotth.biz@Gmail.com ทางเราจะได้นำบทความนั้นนั้นออก ขอบคุณครับ


0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

คลังรูปภาพ ความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ความรู้เทคนิคเคล็ดลับ คำคมโดนๆจากหลายสำนัก เคล็ดลับสาระน่ารู้ โดเมนโฮสติ้ง ตำนานประวัติศาสตร์ แนะนำหนัง สนุก มัน ซึ้ง บทความดีๆที่น่าอ่าน บล็อกและเว็บไซต์ ประเพณีพื้นบ้านไทย ปริศนาโลก ภาพสวยอาร์ตหลากอารมณ์ มุมมองเกี่ยวกับความรัก มุมมองความรัก รวมภาพตุ๊กตาน่ารัก รวมภาพสัตว์น่ารัก รวมภาพสาวเซ็กซี่น่ารัก รวมภาพอาร์ตๆ เรื่องของเห็ดๆ เรื่องจริงที่ไม่น่าเชื่อ เรื่องราวลี้ลับพิศวง วัดพระธาตุนครพนม เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ สถานที่ท่องเที่ยว จ.ชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยว จ.นครพนม สถานที่ท่องเที่ยวจากทั่วโลก สถานที่ท่องเที่ยวไทย สร้างรายได้ออนไลน์ สังคมและกฎหมาย สูตรการทำอาหาร อัพเดทสังคมออนไลน์ Anime ภาพการ์ตูนสวยๆ App มือถือ blogger facebook Gif ภาพเคลื่อนไหว Google Opencart Wallpapers