วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ติดคุกฟรี ใครรับผิดชอบ และควรทำอย่างไร?

13:59




ติดคุกฟรี ใครรับผิดชอบ

ถูกจับเข้ามาอยู่ในเรือนจำ แล้วต่อมา มีหลักฐานชัดเจนว่า ไม่ได้ทำผิด จนมีการถอนฟ้อง
ศาลพิพากษาว่าจำเลยไม่ได้ทำผิด ให้ปล่อยตัวไป

เมื่อติดคุกฟรี และถูกปล่อยตัวแล้ว สิ่งที่มักจะตามมา (ตามประสาคนไทย) ก็คือ
ไปหาหลวงพ่อ รดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ส่วนการที่ต้องเสียเวลาเข้ามาอยู่ในคุกถูกไล่ออกจากงาน จนป่านนี้ก็ยังหางานทำไม่ได้ ก็ถือว่าฟาดเคราะห์ไป.....เวรกรรม.....
ญาติพี่น้องเพื่อนฝูง พาไปเลี้ยงฉลองที่ไม่ต้องติดคุก...ไชโย ๆ ๆ...ส่วนที่ต้องหลงเข้ามาอยู่ในคุกเป็นเดือนหรือเป็นปี ก็ถือว่าแล้วกันไป...ขอกันกินมากกว่านี้ถ้าท่านพอใจอยู่แค่นี้ ความยุติธรรมจะมีเหลืออยู่อีกหรือ

เราขอแนะนำให้ผู้ต้องขังที่ต้องติดคุกฟรีทุกคน ใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายซึ่ง เรื่องนี้รัฐบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดย

1.จ่ายเงินชดเชยที่ต้องเข้ามาอยู่ในคุก โดยนับเป็นรายวัน ติดคุกนานก็ได้รับเงินค่าชดเชยมาก

2.จ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ถ้าความเจ็บป่วยเป็นผลโดยตรงจากการถูกดำเนินคดี เช่นติดโรคมาจากในคุก

3.ถ้าติดคุกแล้วตาย และการตายเป็นผลจากการถูกดำเนินคดี รัฐบาลต้องจ่ายในอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ

4.ระหว่างติดคุก ไม่ได้ทำงาน ครอบครัวขาดรายได้ ก็ต้องได้รับเงินชดเชยด้วย
อยู่ประเทศเสรีเมื่อไม่ได้รับความ เป็นธรรม ก็ต้องใช้สิทธิโวยค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการต่อสู้คดี รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบ

อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็ติดต่อไปได้เลยครับ ที่.....
สำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา สำนักงานที่ว่านี้อยู่ที่ ชั้น 25 ตึกกระทรวงยุติธรรม เลขที่ 99 หมู่4 ถนนแจ้งวัฒนะ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 โทรศัพท์ 0-2502-8083, 0-2502-6539

ที่สำคัญก็คือ ต้องเรียกร้องภายในกำหนดเวลา 1 ปี
มิฉะนั้นหมดสิทธิ.....นะ...จะบอกให้

กรณีตัวอย่าง

วันนี้ (16 พ.ค.) นายไพฑูรย์ สว่างกมล รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวถึงกรณีนายอนุกูล นิธินุศากร อายุ 37ปี ชาวจังหวัดเชียงใหม่ ตกเป็นจำเลยคดีร่วมกันค้ายาเสพติด แต่ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพิสูจน์ได้ว่าไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเดินทางเข้าร้องทุกข์ขอความเป็นธรรมต่อสื่อมวลชนประจำกองบังคับการกองปราบปราม เนื่องจากถูกจำคุกระหว่างพิจารณาคดีในเรือนจำกลางคลองเปรมนานถึง 1 ปี 7 เดือน 13 วัน จากการที่ตำรวจจับกุมและส่งฟ้องเพราะคนร้ายนำบัตรประจำตัวประชาชนนายอนุกูลไปกระทำความผิดว่า หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามที่ปรากฎนายอนุกูลถือว่าเข้าข่ายได้รับค่าทดแทนในฐานะเหยื่อในคดีอาญาที่ศาลพิพากษาแล้วว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ค่าตอบแทนแก่ผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา 2544 ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิฯจะพิจารณาคำร้องจ่ายค่าทดแทนให้ได้

นายไพฑูรย์กล่าวต่อว่า นายอนุกูลต้องยื่นคำร้องขอรับค่าทดแทนจากกรมคุ้มครองสิทธิฯ โดยค่าทดแทนที่ได้รับจะมีทั้งค่าทนาย ค่าขาดประโยชน์วันละ 200 บาท และค่าทดแทนการจำคุกวันละ 200 บาท ตามจำนานวันที่ถูกคุมขัง อย่างไรก็ตาม การยื่นคำร้องต้องดำเนินการภายใน 1 ปี ภายหลังศาลมีคำพิพากษา

รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิฯ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่ผู้เสียหายพยายามร้องขอให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติลบประวัติอาชญากร เนื่องจากเป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพนั้น หากผู้เสียหายเข้ายื่นคำร้องขอรับค่าทดแทนจากกรมคุ้มครองสิทธิฯแล้วแนะนำให้เขียนคำร้องเพิ่มเติมในการขอความช่วยเหลือเรื่องดังกล่าว โดยกรมคุ้มครองสิทธิฯจะช่วยประสานตำรวจเพื่อดำเนินการลบประวัติตามคำร้องของผู้เสียหาย เพราะโดยปกติหากผู้เสียหายได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกฟ้องก็มีสิทธิในการร้องขอให้ลบประวัติอาชญากรได้

เครดิต โรงบาลราชทัณฑ์


ขอบคุณข้อมูลดีๆจากเพจ ปรึกษากฎหมายฟรี


0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

คลังรูปภาพ ความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ความรู้เทคนิคเคล็ดลับ คำคมโดนๆจากหลายสำนัก เคล็ดลับสาระน่ารู้ โดเมนโฮสติ้ง ตำนานประวัติศาสตร์ แนะนำหนัง สนุก มัน ซึ้ง บทความดีๆที่น่าอ่าน บล็อกและเว็บไซต์ ประเพณีพื้นบ้านไทย ปริศนาโลก ภาพสวยอาร์ตหลากอารมณ์ มุมมองเกี่ยวกับความรัก มุมมองความรัก รวมภาพตุ๊กตาน่ารัก รวมภาพสัตว์น่ารัก รวมภาพสาวเซ็กซี่น่ารัก รวมภาพอาร์ตๆ เรื่องของเห็ดๆ เรื่องจริงที่ไม่น่าเชื่อ เรื่องราวลี้ลับพิศวง วัดพระธาตุนครพนม เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ สถานที่ท่องเที่ยว จ.ชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยว จ.นครพนม สถานที่ท่องเที่ยวจากทั่วโลก สถานที่ท่องเที่ยวไทย สร้างรายได้ออนไลน์ สังคมและกฎหมาย สูตรการทำอาหาร อัพเดทสังคมออนไลน์ Anime ภาพการ์ตูนสวยๆ App มือถือ blogger facebook Gif ภาพเคลื่อนไหว Google Opencart Wallpapers