วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

7 เทคนิค รับมือไฟแนนซ์ เมื่อท่านกำลังถูกยึดรถ

06:54



1. สิ่งที่ไฟแนนซ์มักจะข่มขู่ คือ ให้เรารับผิดชอบค่าติดตามยึดรถ ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล โดยมักข่มขู่ให้ผู้เช่าซื้อเป็นผู้รับผิดชอบ โดยอ้างตัวเลขจำนวนสูง และเราควรรู้ไว้ด้วยว่า ไฟแนนซ์ไม่สามารถเรียกค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ตามอำเภอใจ การค่าเสียหายเรียกได้ตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น ดังนั้นผู้เช่าซื้ออย่าวิตก

2. การเข้ายึดรถผู้เช่าซื้อจะต้องค้างชำระค่าเช่าซื้อ 3 งวดติดต่อกัน ก่อนยึดรถอีก 1 เดือน รวมเป็น 4 เดือน ไฟแนนซ์จึงจะสามารถยึดรถได้ แต่ถ้าไฟแนนซ์ยึดรถก่อนหน้านี้จะมีความผิดตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งคุ้มครองเกี่ยวกับเรื่องสัญญา ดังนั้นถ้าไฟแนนซ์มายึดรถก่อนกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เช่าซื้อต้องอย่ายอมให้ยึดรถและให้เรียกตำรวจมาเป็นพยาน

3. การยึดรถถ้าผู้เช่าซื้อไม่ยินยอมให้ยึดรถ ไฟแนนซ์จะยึดรถไม่ได้ ถ้ามีการบังคับขู่เข็ญหรือไล่ให้ผู้เช่าซื้อลงจากรถหรือกระชากกุญแจรถไป หรือเอากุญแจสำรองมาเปิดรถและขับหนีไป การกระทำดังกล่าวมีความผิดต่อเสรีภาพ ลักทรัพย์ บุกรุก แล้วแต่กรณี สามารถแจ้งความดำเนินคดีอาญา หรือให้ทนาย ฟ้องศาลได้เลย ซึ่งสาระสำคัญในการยืดจะต้องให้ผู้เช่าซื้อเซ็นใบส่งมอบ จึงจะถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยชอบ ถ้าไม่มีเอกสารดังกล่าวเป็นการยืดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นความผิดอาญาทันที

4. เมื่อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ไม่ควรให้ไฟแนนซ์ยึดรถ ยืนยันได้เลยว่าไม่ควรให้ไฟแนนซ์ยึดรถไม่ว่าในกรณีใด ๆ เพราะถ้าถูกยึดรถแล้วเราก็จะหมดอำนาจต่อรอง และหลังจากยึดรถไปแล้วไฟแนนซ์จะนำรถของเราไปขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดมาก แถมเมื่อได้เงินมาไม่เพียงพอกับค่าเช่าซื้อที่เราค้างชำระ ไฟแนนซ์ก็จะเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากเรา แต่ถ้ารถยังอยู่ในความครอบครองของเรา เรายังสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์ได้ (พูดง่าย ๆ ก็คือใช้รถหาเงินได้อยู่นั่นเอง) และยังมีอำนาจต่อรองกับไฟแนนซ์อยู่

5. ในกรณีที่เราถูกยึดรถและไฟแนนซ์มีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ อย่าตกใจให้หาทนายสู้คดี โดยทั่วไปค่าเสียหายของไฟแนนซ์มักจะสูงเวอร์ สุด ๆ (ค่าเสี่ยมราคา ค่าขาดประโยชน์ ดอกเบี้ย ส่วนต่าง )

6. เมื่อแพ้คดีไฟแนนซ์จะต้องทำตัวอย่างไร ถ้าเรามีทรัพย์สินถือครอบครองในนามลูกหนี้ เราจะถูกยึดทรัพย์ทั้งหมด ถ้าไม่มีทรัพย์สินถือครอบครองในนามลูกหนี้ แต่ถือครอบครองในนามญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง ไฟแนนซ์ก็ไม่สามารถยึดทรัพย์ของคนอื่น ซึ่งมิใช่ลูกหนี้ได้ ดังนั้นถ้ามีไฟแนนซ์มาข่มขู่ว่าลูกหนี้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของใคร จะยึดทรัพย์เจ้าของบ้าน ตอบได้เลยว่าไม่ต้องกลัว เพราะตามกฎหมายไม่สามารถยึดได้ (ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่จะถูกยืดได้แก่ ที่ดิน ความเป็นเจ้าบ้าน รถ เงินเดือน เป็นต้น )

7. ถ้าไม่มีเงินจ่ายไฟแนนซ์จะติดคุกหรือไม่สามารถตอบได้เลยว่า ไม่ติดคุกเนื่องจากเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา สุดท้ายการเป็นหนี้ไฟแนนซ์ ไม่ต้องลาออกจากงาน เพราะไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน การเป็นหนี้สิน เป็นเรื่องส่วน ตัว ไฟแนนซ์นำเรื่องส่วนตัวไปประจานให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาของลูกหนี้รับรู้ไม่ได้ ถือว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาท (เรายังสามารถฟ้องได้อีก) แต่ถึงยังไงข้อมูลเหล่านี้ให้รู้เอาไว้เพื่อที่เราจะได้ไม่โดนข่มขู่จนหลงเชื่อ และเสียเปรียบ แต่อย่าเอาไปใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควรครับ


ขอบคุณข้อมูลดีๆจากเพจ ปรึกษากฎหมายฟรี





0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

ป้ายกำกับ

คลังรูปภาพ ความรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์ ความรู้เทคนิคเคล็ดลับ คำคมโดนๆจากหลายสำนัก เคล็ดลับสาระน่ารู้ โดเมนโฮสติ้ง ตำนานประวัติศาสตร์ แนะนำหนัง สนุก มัน ซึ้ง บทความดีๆที่น่าอ่าน บล็อกและเว็บไซต์ ประเพณีพื้นบ้านไทย ปริศนาโลก ภาพสวยอาร์ตหลากอารมณ์ มุมมองเกี่ยวกับความรัก มุมมองความรัก รวมภาพตุ๊กตาน่ารัก รวมภาพสัตว์น่ารัก รวมภาพสาวเซ็กซี่น่ารัก รวมภาพอาร์ตๆ เรื่องของเห็ดๆ เรื่องจริงที่ไม่น่าเชื่อ เรื่องราวลี้ลับพิศวง วัดพระธาตุนครพนม เว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ สถานที่ท่องเที่ยว จ.ชัยภูมิ สถานที่ท่องเที่ยว จ.นครพนม สถานที่ท่องเที่ยวจากทั่วโลก สถานที่ท่องเที่ยวไทย สร้างรายได้ออนไลน์ สังคมและกฎหมาย สูตรการทำอาหาร อัพเดทสังคมออนไลน์ Anime ภาพการ์ตูนสวยๆ App มือถือ blogger facebook Gif ภาพเคลื่อนไหว Google Opencart Wallpapers